วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 




                   เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและได้และใช้ทรัพยากรที่อยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ และทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมาก เช่น เวบ อีเมล FTP

ความเป็นมาของเครือข่าย
               หากย้อนไปเมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว คอมพิวเตอร์เครื่องแรกกำเนิดขึ้นที่มหาวิทยาลัเพนซิลวาเนีย ต่อมาคอมพิวเตอร์ก็มีบทบาทสร้างสรรค์สังคมมนุษย์เข้ามาช่วยเหลืองานต่าง ๆ ของมนุษย์มากมาย จินตนาการการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีมานานแล้ว โดยเฉพาะในนิยาวิทยาศาสตร์ ผู้เขียนนิยายวิทยาศาสตร์หลายท่านได้สร้างจินตนาการให้เห็นระบบสื่อสารที่ทรงพลัง โดยมีคอมพิวเตอร์ช่วยเป็นสื่อในการรับส่งข้อมูลระหว่างกัน จุดเริ่มต้นของเครือข่ายคอมพิวเตอร์เริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1962 Licklider แห่งมหาวิทยาลัย MIT ได้บันทึกแนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ชื่อ Galactic Network โดยแสดงจินตนาการให้เห็นหลักการของเครือข่ายทางวิชาการ พร้อมทั้งประโยชน์ที่จะใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการพูดคุย สื่อสาร อภิปราย ส่งข่าวระหว่างกัน และเชื่อมโยงกันทั่วโลก ต่มาLicklider ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าทีมงานวิจัยตามความต้องการของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกัน ในโครงการที่ชื่อ DARPA ร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอีกหลายคน

ประโยชน์ของระบบเครือข่าย
1. การใช้ Hardware ร่วมกัน
2. การใช้ Software ร่วมกัน
3. การต่อเชื่อมกับระบบอื่น
4. การใช้ระบบ Multiuser


ประเภทของเครือข่าย 

เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) 





                    เครือข่ายเฉพาะบริเวณ  (Local  Area  Network  :  LAN)  หมายถึง  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เป็นของกลุ่มผู้ใช้กลุ่มเล็กๆ  กลุ่มหนึ่ง  ปกติจะเป็นเครือข่ายที่มีขอบเขตอยู่ภายในอาคารเดียวกัน  หรือกลุ่มอาคารที่อยู่ติดกัน  มีระยะไม่เกิน  2-3  กิโลเมตร  เหมาะสำหรับการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล  หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กของพนักงานในองค์กรเข้าด้วยกันโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ  การใช้อุปกรณ์ส่วนกลางร่วมกัน  การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน  และการรับ-ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกัน  เครือข่าย  LAN  มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากระบบอื่นๆ  3  ประการ  คือ  ขนาด,  เทคโนโลยีที่ใช้ในการรับ-ส่งข้อมูล  และรูปแบบการจัดโครงสร้างของระบบ  

เครือข่ายเมือง (Metropolitan Area Network : MAN)


                   เครือข่ายในเขตเมือง  (Metropolitan  Area  Network :  MAN)  มีลักษณะคล้ายกับระบบเครือข่าย  LAN  เพียงแต่มีขนาดใหญ่กว่าเท่านั้น  ระบบนี้อาจจะเชื่อมต่อการสื่อสารของสาขาหลายๆ  แห่งที่อยู่ภายในเขตเมืองเดียวกัน  หรืออาจครอบคลุมหลายเขตเมืองที่อยู่ใกล้กัน  โดยระบบนี้มีขีดความสามารถในการให้บริการทั้งการรับ-ส่งข้อมูลและโทรศัพท์ไปพร้อมกันได้  ในปัจจุบันยังครอบคลุมไปถึงระบบโทรทัศน์ทางสาย  (Cable  television)  ด้วย  ระบบนี้จะมีสายเคเบิลเพียงหนึ่งหรือสองเส้น  โดยไม่มีอุปกรณ์สลับช่องสื่อสาร  (Switching  element)  ทำหน้าที่คอยกักเก็บสัญญาณไว้ภายในหรือปล่อยสัญญาณออกไปสู่ระบบอื่น


เครือข่ายบริเวณกว้าง ( Wide Area Network : WAN)




                      เครือข่ายวงกว้าง  (Wide  Area  Network  :  WAN)  ระบบเครือข่ายแบบนี้เป็นการขยายเขตการเชื่อมต่อครอบคลุมไปเป็นพื้นที่ระดับภูมิภาค  ระบบนี้ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หลักเรียกว่า  โฮสต์คอมพิวเตอร์  (Host Computer)  ทำหน้าที่คอยให้บริการแก่ผู้ใช้ทั้งหมดที่เป็นสมาชิกในกลุ่มตนเอง  โดยโฮสต์คอมพิวเตอร์จะเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายย่อย     ซึ่งมีหน้าที่ให้บริการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างโฮสต์ต่างๆ  หลักการ ระบบเครือข่ายย่อยในเครือข่าย  WAN ประกอบด้วยอุปกรณ์สองอย่าง  คือ  สายสื่อสาร  (Transmission  line)  และอุปกรณ์สลับช่องสื่อสาร  (Switching  elements)


เครือข่ายแบบบัส  (Bus Network)





                เครือข่ายแบบบัส  (Bus Network)  เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาวต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ เข้ากับสายเคเบิ้ลในการส่งข้อมูลจะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วง เวลาหนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำ ให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่สัญญาณที่แตกต่างกัน การเซตอัป เครื่องเครือข่ายแบบบัสนี้ ทำได้ไม่ยากเพราะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสาย เคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวโดยส่วนใหญ่เครือข่ายแบบบัส  มักจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มี คอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก





เครือข่ายแบบดาว (Star Network)




                        เครือข่ายแบบดาว (Star Network)เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ ที่เป็น จุดศูนย์กลางของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วย สลับสายกลาง การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการ ติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วนสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงเป็นศูนย์กลางของการติดต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานี ต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน


                        เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Network)เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลยาวเส้นเดียวในลักษณะวงแหวน  การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายวงแหวน จะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูลมันก็จะส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรง ตามที่คอมพิวเตอร์เครื่องต้นทางระบุ ก็จะส่งผ่านไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไปซึ่งจะเป็นขั้นตอน อย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ถูกระบุตามที่อยู่จากเครื่องต้นทาง


เครือข่ายแบบต้นไม้ (Tree Network)  



               เครือข่ายแบบต้นไม้ (Tree Network) เป็นเครือข่ายที่มีผสมผสานโครงสร้างเครือข่าย แบบต่าง ๆ เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ การจัดส่งข้อมูลสามารถส่งไปถึงได้ทุกสถานี การสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลางไปยังสถานีอื่น ๆ ได้ทั้งหมด เพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อม รับส่งข้อมูลเดียวกัน


วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555



คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์


                                           


คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลข รูปภาพ ตัวอักษร และเสียง


ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์

               คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ

ส่วนที1 หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit)

เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อ ทำหน้าที่ป้อนสัญญาณเข้าสู่ระบบ เพื่อกำหนดให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการ ได้แก่

- แป้นอักขระ (Keyboard)

- แผ่นซีดี (CD-Rom)

- ไมโครโฟน (Microphone) เป็นต้น

 ส่วนที2 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)

              ทำหน้าที่ เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมถึงการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ

ส่วนที่3 หน่วยความจำ (Memory Unit)

              ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จาการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล

ส่วนที่4 หน่วยแสดงผล (Output Unit)

             ทำหน้าที่แสดงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล หรือผ่านการคำนวณแล้ว

ส่วนที่5 อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ (Peripheral Equipment)

             เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม (modem) แผงวงจรเชื่อมต่อ เครือข่าย เป็นต้น


ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

1. มีความเร็วในการทำงานสูง สามารถประมวลผลคำสั่งได้รวดเร็วเพียงชั่ววินาที จึงใช้ในงานคำนวณต่างๆได้อย่างรวดเร็ว

2. มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ทำงานได้ตลอด 24 ชั่งโมง ใช้แทนกำลังคนได้มาก

3. มีความถูกต้องแม่นยำ ตามโปรแกรมสั่งงานและข้อมูลที่ใช้

4. เก็บข้อมูลได้มาก ไม่เปลืองเนื้อที่เก็บเอกสาร

5. สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วช่วย
    อำนวยความสะดวกในการใช้งาน


ระบบคอมพิวเตอร์
           หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆ กับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความ
ประสงค์ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด เช่น ระบบเสียภาษี ระบบทะเบียนราษฎร์ ระบบทะเบียนการค้า ระบบเวช  ระเบียนของโรงพยาบาล เป็นต้น

" การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้โดยการตรวจสอบจากการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง "
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
        ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้

1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หรือส่วนเครื่อง
2.ซอฟแวร์ (Software) หรือส่วนชุดคำสั่ง
3.ข้อมูล (Data)
4.บุคลากร (Peopleware)


ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
          หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน ดังนี้คือ

1.ส่วนประมวลผล (Processor)
2.ส่วนความจำ (Memory)
3.อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก (Input-Output Devices)
4.อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล (Storage Device)

1.หน่วยความจำหลัก
        แบ่งได้ 2 ประเภทคือ หน่วยความจำแบบ “แรม” (RAM)และหน่วยความจำแบบ”รอม”(ROM)

1.1 หน่วยความจำแบบ “แรม” (RAM=Random Access Memory)
       เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้     
       ชั่วคราวขณะทำงาน ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครื่อง หรือไม่มีกระแส   
       ไฟฟ้าป้อนให้กับเครื่อง เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้
        (Volatile Memory)


ลักษณะของหน่วยความจำ RAM
1.2 หน่วยความจำแบบ “รอม” (ROM=Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บ
โปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร
ยอมให้ซีพียูอ่านข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งานอย่างเดียว ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปเก็บไว้ได้
โดยง่าย ส่วนใหญ่ใช้เก็บโปรแกรมควบคุม เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบ
ไม่ลบเลือน (Nonvolatile Memory)

ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรอง

               หน่วยความจำรองจะช่วยแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับเพราะข้อมูลต่างๆที่ส่งเข้ามาประมวลผล เมื่อเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปเก็บในความจำหลักประเภทแรม หากปิดเครื่องหรือมีปัญหาทางไฟฟ้า อาจทำให้ข้อมูลสูญหายจึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำรอง เพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำแรมมาเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไป หน่วยความจำประเภทนี้ส่วนใหญ่จะพบในรูปของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลภายนอก เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึก ชิปดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี เทปแม่เหล็ก หน่วยความจำแบบแฟลช หน่วยความจำรองนี้ ถึงจะไม่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เครื่อคอมพิวเตอร์ก็ยังสามารถทำงานได้ปกติ

บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์

1. หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์ ( EDP Manager)
2. หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน (System Analyst หรือ SA)
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
4. ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Operator)
5. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล (Data Entry Operator)

อาจแบ่งประเภทของบุคลากรคอมพิวเตอร์ เป็นระดับต่างๆได้ 4 ระดับดังนี้
1. ผู้จัดการระบบ (System Manager) 
         คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
         คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ใน
          การใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
         คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียน      
         ตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
4. ผู้ใช้ (User)
          คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรมเพื่อให้     
           โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ